คอลัม

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่8 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บทที่8  การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์












เผยแพร่เมื่อ 7 เม.ย. 2014
  • หมวดหมู่

  • สัญญาอนุญาต

    • สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube



      การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


      การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์           เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ ดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
                1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
                2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
                3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
                4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น  
      UploadImage
      องค์ประกอบของการสื่อสาร
                1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
                2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
                3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
                4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
                5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสาร ที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล 
      การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร          การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้ 
      ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)          การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส  
      โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)          เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา 
      วอยซ์เมล (Voice Mail)               
                เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าว อยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม 
      การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)               
                เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ประชุม 
      การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)               
                เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย 
      กรุ๊ปแวร์(groupware)               
                 เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงาน ร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย 
      การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)               
                ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัน สมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM 
      การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)               
                เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                 
       การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  
      UploadImage
      ชนิดของสัญญาณข้อมูล
                1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)               
                เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ 
      เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ                
                2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)               
                สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที                
      โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                   
                โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที 
      ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
                1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
                2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
                3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) ตัวกลางการสื่อสาร
                1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
                     -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)               
                        สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
                      -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)               
                 สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
                      -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)               
                สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 
                2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
                      - แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
                      -  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ 
                      -  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
                      -  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ 
      หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล          1.  ราคา
                2.  ความเร็ว
                3.  ระยะทาง
                4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
    •           5.  ความปลอดภัยของข้อมูล 
      มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)          1. บลูทูธ (Bluetooth)
                2. ไวไฟ (Wi-Fi)
                3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)
      UploadImage
      ที่มา.http://www.thaigoodview.com/node/53181

      https://blog.eduzones.com/jipatar/85916


วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่12 การใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อการเรียนรู้

บทที่12  การใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อการเรียนรู้








เผยแพร่เมื่อ 27 ก.ค. 2013
วีดีโอนี้จัดทำขึ้นและให้ใช้เพื่อการศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีส­­­ารสนเทศ
และการสื่อสารทางการศึกษา



การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อการศึกษา



ความหมาย  "เครือข่ายสังคมออนไลน์"

                       แนวคิดเรื่อง (Social Network) หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักปรากฎให้เห็นในลักษณะของการนำมาใช้เพื่อดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยมีตัวบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยนแบ่งปันทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ แต่ปัจจุบันคำว่า (Social Network) จะหมายถึงระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์ หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ตนั่งเอง Wikipedia (2009) ให้ความหมาย(Social Network) ว่า เป็นโครงสร้างสังคมที่ประกอบด้วยโหนด (Node) ต่างๆ เชื่อมต่อกัน ซึ่งแต่ละโหนดที่เชื่อมโยงกันก็อาจมีความสัมพันธ์กับโหนดอื่นๆ ด้วย โดยอาจมีระดับของความสัมพันธ์กัน มีความซับซ้อน มีเป้าหมาย
                        (Social Network) จึงหมายถึงการที่มนุษย์สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ทำความรู้จักกัน สื่อสารถึงกันได้ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ (Social Network) ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่งเอง โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกัน มีการให้พื้นที่ บริการเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย สร้างเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภท (Social Network) เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหากำไร เช่น Wikipedia โดย 10 อันดับเว็บไซต์ (Social Network) ยอดนิยม คือ mySpace.com, faceBook.com, orkut.com, hi5.com, vkontakte.ru, Friendster.com, SkyRock.com, PerfSpot.com, bebo.com และ studivz.net (พฤษภาคม 2551)
                นอกจะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อความสนุก เพลิดเพลิน บันเทิงแล้วเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อการศึกษาได้

http://1991sailom2.blogspot.com/



การประยุกต์ใช้งาน Twitter เพื่อการเรียนการสอน



ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (tweet - เสียงนกร้อง) ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นโดย แจ็ก คอร์ซีย์ ,บิซ สโตน และ อีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัท Obvious Corp ที่ซานฟรานซิสโกสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006
ข้อความอัปเดตที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์,อีเมลเอสเอ็มเอสเมสเซนเจอร์ (IM), RSSหรือผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง Twitterific Twhirl ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร
ความสำเร็จของทวิตเตอร์ส่งผลให้มีบริการคล้ายคลึงกันออกมาเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันประเทศไทยเองก็มีบริการลักษณะนี้เช่นกัน นั่นคือ Noknok และKapook OnAir เว็บไซต์แห่งหนึ่งถึงกับรวบรวมบริการแบบเดียวกับ ทวิตเตอร์ได้ถึง 111 แห่ง
ตัวระบบซอฟต์แวร์ของทวิตเตอร์ เดิมพัฒนาด้วย Ruby on Rails[3] จนเมื่อราวสิ้นปี ค.ศ. 2008 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษา Scala บนแพลตฟอร์มจาวา ค.ศ. 2009 ทวิตเตอร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จนนิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. 2009 ได้นำเอาทวิตเตอร์ขึ้นปก เป็นเรื่องเด่นประจำฉบับ และบทบรรณาธิการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว ที่มีที่มาจากเทคโนโลยีใหม่อย่างทวิตเตอร์

ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอน

                จากการจัดอันดับของเครื่องมือสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพบว่าทวิตเตอร์เป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งในปีพ.ศ. 2552 ด้วยเหตุผลดังนี้
  1. ทวิตเตอร์ทำให้ข่าวสารและข้อมูลแพร่กระจายไปสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว
  2. ทวิตเตอร์ช่วยทำให้ ทั้งให้และรับได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนการสนทนาความคิดกับผู้อื่นที่มีความสนใจได้ดี
  3. ข้อความในทวิตเตอร์สั้นทำให้ได้รับข้อมูลที่ไม่ยาวเกินความจำเป็น
  4. มีแอพที่ทำให้การเข้าถึงทวิตเตอร์และการเผยแพร่ข้อมูลที่ทวิตเตอร์ง่าย เช่น Google Chrome, Firefox ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้หัวข้อฟีดไปแสดงที่บัญชีทวิเตอร์โดยอัตโนมัติ

ข้อดีของทวิตเตอร์

  1. สามารถใช้ได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อการสื่อสารถึงกิจกรรมการเรียนการสอน
  2. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับระดมความคิดเห็นและการสื่อสาร
  3. สามารถเป็นช่องทางสำหรับฟังความคิดเห็น โดยนักเรียนสามารถส่งคำถาม ความคิดเห็น หรือข้อสังเกตเข้าไปเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันได้
  4. สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน มหาลัย ประเทศที่ห่างกันได้
  5. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการประชุม สัมมนา การนำเสนอความคิดจากคนหมู่มาก ที่สามารถอัพเดทข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
  6. สามารถใช้เป็นห้องเรียนเสมือนสำหรับการอภิปรายแสดงออกทางความคิด
  7. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ทางเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือการคันพบแหล่งความรู้ใหม่ๆ
  8. สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสะท้อนความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้สอน

ข้อเสียของทวิตเตอร์

  1. เป็นแอพที่ต้องใช้เวลาพอสมควรในการอ่านข้อมูลข่าวสารในกรณีที่มีผู้อยู่ในเครือข่ายมาก
  2. ข้อมูลที่ปรากฏในระบบจะถูกทับด้วยข้อมูลใหม่อย่างรวดเร็วและคงอยู่ในระบบในระยะเวลาจำกัดประมาณ 15 วัน
  3. ผู้เรียนอาจไม่สนใจในเนื้อหาที่ผู้สอนมอบให้โดยการใช้ทวิตเตอร์เพื่อการแชทระหว่างเพื่อนในชั้นเรียน
  4. หากไม่จัดสรรเวลา ผู้เรียนอาจมีการเสพติดเทคโนโลยีได้
  5. ผู้เรียนอาจไปก้าวก่ายในชีวิตส่วนตัวของผู้สอนได้โดยการโพสต์ข้อความที่ไม่เหมาะสมเข้าไปในระบบ
  6. อาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างข่าวลือ
  7. บางครั้งข้อจำกัด 140 อักขระ นำไปสู่การสื่อสารด้านการเขียนที่ผิดไวยากรณ์
  8. อาจเป็นแหล่งที่มาของการสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายในการซื้อคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การสื่อสาร และค่าบริการอินเตอร์เน็ต
(ที่มา : http://gear.kku.ac.th/~krunapon/research/pub/twitterforLearning.pdf )


การประยุกต์ใช้งาน Youtube เพื่อการเรียนการสอน



youtube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยนำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวิดีโอ ซึ่งยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง
เมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ ใช้จะสามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูด้วย แต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ ใส่ไว้ใน Youtube ได้  แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (youtube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) Youtube เติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006 กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว
แต่ด้วยตัวยูทูบเองที่มีเนื้อหามากมายเป็นแสนชิ้น ทั้งสื่อและเครื่องมือการเรียนรู้ดีๆที่สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสื่อประเภทที่สุ่มเสี่ยง และทำให้เด็กและเยาวชนไขว้เขวไปได้ ทั้งจากมิวสิควีดีโอ การ์ตูน และไม่ได้ใช้เป็นช่องทางเพื่อการเรียนรู้สักทีเดียว จึงเป็นที่มาของการเปิดหน้าการศึกษาล่าสุดเของยูทูบขึ้น  ที่เรียกว่า ยูทูบสำหรับโรงเรียน” หรือ (Youtube for Schoolsเป็นช่องทางการเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้น โดยจะมีเนื้อแต่เรื่องการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว โดยได้ร่วมมือกับภาคีด้านการศึกษากว่า 600 แห่ง เช่น TED , Smithsonian  เว็บไซด์ชื่อดังเรื่องที่ได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการต่างๆเอาไว้,Steve Spangler แหล่งผลิตเกมส์และของเล่นเพื่อการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ หรือ Numberphile  ที่สอนคณิตศาสตร์ออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ยูทูบได้ทำงานร่วมกับครูในการจัดแบ่งเนื้อหากว่า 300  ชิ้น ออกเป็นรายวิชา และระดับชั้น โดยสื่อเหล่านี้ยูทูบเชื่อว่าจะช่วยเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ห้องเรียนสนุกสนานขึ้น และเด็กๆก็จะตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น

 YouTube สำหรับโรงเรียน

             ประโยชน์ของ YouTube สำหรับโรงเรียน(Youtube for Schools)

1. กว้างขวางครอบคลุม

YouTube สำหรับโรงเรียนเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวิดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก YouTube EDU วิดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่นStanfordPBS และ TED รวมทั้งจากพันธมิตรที่กำลังได้รับความนิยมของ YouTube ซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน เช่น Khan Academy, Steve Spangler Science และ Numberphile

2. ปรับแก้ได้
สามารถกำหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาYouTube EDU ทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์ลิสต์วิดีโอที่ดูได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน

3. เหมาะสมสำหรับโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวิดีโอใดๆ ก็ได้ แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และจะดูได้เฉพาะวิดีโอ YouTube EDU และวิดีโอที่โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวิดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการค้นหาจะจำกัดเฉพาะวิดีโอ YouTube EDUเท่านั้น 

4. เป็นมิตรกับครู
YouTube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วิดีโอนับร้อยรายการที่ได้มาตรฐานการศึกษาทั่วไป และจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสต์เหล่านี้สร้างขึ้นโดยครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง

การประยุกต์ใช้งาน Facebook เพื่อการเรียนการสอน




การใช้เฟซบุ๊ก เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา


เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่ยังคงเฟื่องฟูและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆ นำ     เฟซบุ๊กไปประยุกต์ใช้เป็นศูนย์แห่งการ   เรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการในการเรียนการสอนรวมถึงการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน
              จากการค้น “เฟซบุ๊กเพื่อการศึกษา (Facebook for Education)”ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 922ล้านรายการ และจากการค้นศูนย์แห่งการเรียนรู้บนเฟซบุ๊ก (Learning Center on Facebook)”ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 173 ล้านรายการ จะเห็นได้ว่ามีการนำเฟซบุ๊กไปประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาและเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ยิ่งกว่าไปนั้น เฟซบุ๊กได้เป็นสื่อสังคมยอดนิยมสำหรับครูผู้สอน ซึ่งเมื่อเมษายน 2554 “เพียร์สัน (Pearson)”ได้รายงานผลสำรวจการใช้สื่อสังคมของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษาประมาณ 2,000 แห่ง จากบล็อก “เอ็ดดูเดมิก (edudemic.com)”สรุปได้ว่า ครูผู้สอนร้อยละ 57 นิยมใช้เฟซบุ๊กในด้านส่วนตัวและครูผู้สอน      ร้อยละ 30 ใช้เฟซบุ๊กในด้านวิชาชีพ
       เว็บ “พีซีเทคแม็กกาซีน (www.pctechmagazine.com)”ได้อ้างถึงเหตุผล ประการที่ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เฟซ บุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา 
1.  การพัฒนาด้านภาษาซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เฟซบุ๊กในการติดต่อสื่อสารและแสดงความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับวิชาที่เรียนบนเฟซบุ๊ก ทั้งนี้ การใช้ เฟซบุ๊กเป็นประจำในการเขียนและอ่านข้อความต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการเขียน การสะกดคำ และการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง 
2. การสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งเป็นสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่างๆ มากยิ่งขึ้น
 3. การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งเฟซบุ๊กเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนผู้ใดผู้หนึ่งจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้เรียนผู้อื่นเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตาม
4. เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       ซึ่งการใช้เฟซบุ๊กในการเรียนการสอน จะช่วยผู้เรียนมีความสนใจและมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ

        สิ่งที่ครูผู้สอนพึงปฏิบัติในการใช้เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนนั้น เมื่อมิถุนายน2554 เว็บ “ออลเฟซบุ๊ก
(www.allfacebook.com)”ได้นำเสนอเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดไว้ 7ประการเพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนใช้เฟซบุ๊กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 
  • ห้ามครูผู้สอนระบายอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ที่มีต่อผู้เรียนในเชิงลบผ่านเฟซบุ๊ก 
  • ควรกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียนให้ชัดเจน 
  • ในกรณีที่ยกเลิกการเรียนการสอนในห้องเรียนเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ครูผู้สอนสามารถใช้เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนโดยการกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับวิชาที่สอนเพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น 
  • ไม่ควรใช้ข้อความที่รุนแรงในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนและสถานศึกษา 
  • หลีกเลี่ยงการแสดงข้อความที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งที่รุนแรง  
  •  ควรตั้งค่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้
  •   ควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนในเชิงบวกเท่านั้น     
เฟซบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ หรือ แอพพลิเคชัน หรือแอพส์ (Apps = Applications)” เพื่อการศึกษามากมายที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น
1.              “ไฟลส์ (Files)”สำหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน
2.             เมกอะควิซ (Make a Quiz)”สำหรับสร้างคำถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน
3.              “คาเลนเดอร์ (Calendar)”สำหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ
4.             “คอร์ส(Course)” สำหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน

นอกจากนี้ ยังมีแอพส์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนและแบ่งปันเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน  ตัวอย่างเช่น
1.             วีรีด (weRead)”  สำหรับจัดการรายชื่อหนังสือให้ผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น
2.              “คลาสโน้ตส์ (Class Notes)”สำหรับถ่ายภาพในขณะที่ครูผู้สอนเขียนเนื้อหาบนกระดาน หรือคัดลอกเนื้อหาที่เรียน แล้วนำไปโพสต่อเพื่อแบ่งปันผู้อื่น สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าอินเทอร์เน็ตแล้วค้นหาข้อมูลแอพส์ของ เฟซบุ๊กเพื่อการศึกษาได้

                จะเห็นได้ว่า เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้และเป็นห่วงโซ่การศึกษาขนาดใหญ่ที่ทรงประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด ซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา ตลอดวันละ24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ วัน ฉะนั้น ผู้บริหารการศึกษาจึงควรกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้เฟซบุ๊กอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านการใช้เฟซบุ๊กไปในทางที่ผิดหรือด้านการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่สถานศึกษา ยิ่งกว่านั้น ผู้บริหารการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนานโยบายการใช้เฟซบุ๊กที่มีอยู่เป็นระยะๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

ข้อดีของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน
1.             สื่อสารถึงนักศึกษาได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้อีเมลล์หรืออีเลิร์นนิ่ง
2.             ส่งเสริมการกระตุ้นให้นักศึกษาได้แบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
3.             นักศึกษามีความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

ข้อเสียของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน
1.             อาจละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
2.             อาจารย์หรือนักศึกษาไม่เป็นส่วนตัวในการข้อความหรือรูปภาพต่างๆ
(ที่มา : http://www.dmaonline.in.th/index.php?modules=article&f=view&cat_id=3&id=58)
http://1991sailom2.blogspot.com/




วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ข่าว เทคโนโลยี ความ ผิด เกี่ยว กับ คอมพิวเตอร์

วิเคราะห์ข่าว การกระทำผิดเกี่ยกับคอมพิวเตอร์

เท่ง เถิดเทิง แจ้งความกองปราบ

ฟ้องมือตัดต่อภาพผิดพ.ร.บ.คอมพ์

ภาพที่ถูกนำไปตัดต่อและเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก

ส่วนกรณีที่ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า หากใครใส่หน้ากาก เท่ง เถิดเทิง เปรียบเสมือนการต่อสู้ เพื่อนำ พันตำรวจโท ทักษิณ กลับบ้าน เท่ง เถิดเทิง ได้กล่าวทั้งน้ำตาว่า กรณีนี้ตนเองได้ออกมาขอโทษแล้ว และขอร้องอย่านำตนไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพราะไม่ว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี ตนก็สามารถประกอบอาชีพได้

ด้าน พลตำรวจตรี พิสิษฐ์ กล่าวว่า เบื้องต้นจะสอบปากคำ เท่ง เถิดเทิง และตรวจสอบเนื้อหาของภาพดังกล่าว หากพบว่าผิด จะระงับการเผยแพร่ภาพ ซึ่งเข้าข่ายความผิดประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 และผิดตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
       
ด้านเวิร์คพอยท์ เอนเทอร์เทนเมนท์ บริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าว ได้เผยแพร่คำชี้แจงผ่านทางเฟซบุ๊กของบริษัท มีเนื้อหาว่า หลังจากที่ได้มีผู้นำเอาภาพประกอบกับข้อความที่ไม่เหมาะสมและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงออกมาแชร์เผยแพร่นั้น ทางทีมงานขอชี้แจงว่าภาพดังกล่าวมาจากรายการชิงร้อยชิงล้านซันไชน์เดย์ เทปที่ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยทางตลกชื่อดังซึ่งได้แสดงเป็นนักเรียนไทยที่ไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังนั่งรถลากเที่ยวชมเมือง พร้อมกับได้บันทึกภาพที่งดงามของประเทศญี่ปุ่นเอาไว้นั่นเอง
       
“เนื่องจากว่าในช่วงเวลานี้ มีการแชร์รูปภาพประกอบกับข้อความที่ไม่เหมาะสมอันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรง ทางทีมงานจึงขอชี้แจงให้ทุกท่านได้ทราบข้อเท็จจริงว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพจากรายการชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ ออกอากาศในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 โดยมีบุคคลนำภาพจากช่วงละครสามช่า ซึ่งเนื้อหาในวันนั้นล้อละครเรื่องข้างหลังภาพ เท่ง เถิดเทิง รับบทนักศึกษาไทยที่ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่น กำลังนั่งรถลาก เที่ยวชมบรรยากาศอันแสนงดงามของประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งได้ถ่ายรูปบรรยากาศไว้เป็นที่ระลึก
       
เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนทางรายการจึงนำภาพนิ่งช่วงละคร จากรายการชิงร้อยชิงล้าน วันดังกล่าวมาให้ดูอีกครั้ง”
       


ภาพนิ่งจากละคร ชิงร้อย ออกอากาศเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556

       
ก่อนหน้านี้เจ้าตัวต้องตกเป็นประเด็นข่าวมาแล้วครั้งหนึ่งหลังไปแสดงในงานวันเกิดของนาย “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับบอกว่า “อยากเห็นทักษิณกลับบ้าน” ซึ่งหลังจากนั้นเจ้าตัวก็ได้ออกมาชี้แจง โดยยืนยันว่าตนเองไม่ฝักใฝ่เรื่องการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด และการพูดดังกล่าวก็เพื่อจะเอาใจเจ้าภาพเท่านั้น


สรุปข่าว

จากข่าวข้างต้น นายพงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ หรือ เท่ง เถิดเทิง เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากกระแสวิพากษ์จิจารณ์ ในกรณีที่มีผู้นำภาพของเท่ง เถิดเทิง มาโพสต์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงมาการแชร์ภาพต่อๆกันผ่านทางเฟสบุ๊ค และภาพนั้นมีการดัดแปลงตัดต่อ และเติมข้อความในลักษณะที่หมิ่นสถาบัน โดยที่ผู้ไม่หวังดีตัดต่อภาพบางช่วงของการแสดง และนำไปเผยแพร่ต่อ จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ และก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงต่อเท่ง เถิดเทิง ชึ่งการตัดต่อภาพและเผยแพร่ เข้าข่ายความผิดประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 และผิดตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี" และจากเนื้อหาข่าวดังกล่าวผู้ที่กระทำความเสียหายนั้น ผิดตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ดังนี้

มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

มาตรา 14 (1) ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน  โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

มาตรา 14 (2) ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี โทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท
บทวิเคระห์

เมื่อฉันเห็นข่าวนี้ ฉันเกิดความสนใจขึ้นมาทันที เนื่องจากบุคคลในข่าวเป็นคนที่มีชื่อเสียง และฉันคิดว่าอาจเป็นเพราะความมีชื่อเสียงของเขาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เป็นแรงจูงใจของผุ้ไม่หวังดี และการที่นำภาพของบุคคลอื่นมาดัดแปลง ตัดต่อ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของภาพ ทั้งด้านสังคม การงาน และสุขภาพจิต ฉันคิดว่านอกจากจะผิดกฎหมายแล้วยังเป็นสิ่งที่ผิดตามคุณธรรมและหลักจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์อีกด้วยเพราะผู้กระทำความผิดได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดผู้อื่น จนทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย โดยการแก้ไขดัดแปลงภาพของผู้อื่น ไม่คำนึงผลที่เกิดขึ้นทางสังคม และฉันคิดว่าการทำเช่นนี้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทมาก แม้ว่าบางครั้งภาพที่นำมาอาจเป็นคนที่เราสนิทสนมก็ตาม จากเรื่องที่เกิดขึ้นในข่าวทำให้เห็นแล้วว่า การที่นำภาพตัดต่อหรือการใส่ข้อความในทางลบ เผยแพร่ในระบบ SOCIAL ส่งผลกระทบมากมายหากผู้กระทำไม่ได้คิดให้รอบครอบ หรือขาดคุณธรรมจริยธรรม คนหลายๆคนอาจต้องเดือดร้อน เพราะในยุคปัจจุบันโลกอินเตอร์เน็ตทำให้การส่งต่อข้อมูลไปได้เร็วมาก เพียงชั่วกระพริบตาเดียวคนอื่นก็สามารถรับรู้ข้อมูลที่เผยแพร่ได้แล้ว ก่อนที่จะกระทำการใดๆเผยแพร่ ควรคิดให้ดี สำนึกในจริยธรรม หรือขออนุญาติเจ้าของภาพเสียก่อน

http://jeeranuchpsy.blogspot.com/2013/11/blog-post.html